ระยะทาง กศน.ตำบล - ศูนย์ กศน.อำเภอ ประมาณ
8
กิโลเมตร
กศน.ตำบล - สำนักงาน กศน.จังหวัดน่าน ประมาณ 66 กิโลเมตร
3. สังกัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
4. ประวัติความเป็นมาของ
กศน.ตำบล
4.1 ประวัติสถานศึกษา
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลสถาน
เดิมตั้งอยู่หมู่ที่ 12 บ้านดอนสถาน 1 อำเภอปัว จังหวัดน่าน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารหลังใหม่ (ข้างองค์การบริหารส่วนตำบลสถาน) หมู่ที่ 9 บ้านสันติสุข ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอปัว ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว
โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ตำบลสถาน จำนวนทั้งสิ้น 13
หมู่บ้าน
ในปี
พ.ศ. 2553 ได้ยกระดับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเป็น
กศน.ตำบลสถาน และในปี พ.ศ. 2556 ได้ย้าย กศน.ตำบลสถาน จากอาคารอเนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลสถาน
มาที่หอประชุมหมู่บ้านพรสวรรค์ หมู่ 10 ต.สถาน อ.ปัว จ.น่าน โดยมีคำสั่งแต่งตั้ง นายปกรณ์
สีหราช เป็นครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำตำบลสถานและเป็นผู้ประสานงานการศึกษานอกโรงเรียนตำบลสถาน และ นางจันทนาภรณ์ ยศโม่ง
ครู กศน.ตำบล เป็นหัวหน้า กศน.ตำบลสถาน
กศน.ตำบลสถาน มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยจัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ
เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อการมีงานทำ
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย
โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน และการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน
เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชนตำบลสถาน
4.2 อาณาเขต
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ อำเภอเชียงกลาง
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลวรนคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสกาด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลไชยวัฒนา
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดต่อกับ ตำบลภูคา
4.3
สภาพชุมชนของตำบลสถาน
ลักษณะที่ตั้งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและป่าไม้
มีเนื้อที่ 141 ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยภูเขา
บางส่วนตั้งอยู่ที่ราบสูง
เป็นตำบลที่มีอากาศค่อนข้างเย็นสบายไม่ร้อนเท่าที่ควรในฤดูร้อน ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกและอากาศเย็นสบาย และทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีผลผลิตมากมาย
ในฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นมากเพราะติดกับดอยภูคา
4.3.1
ประวัติความเป็นมาของตำบลสถาน
ตำบลสถานเดิมชื่อ
ขุนสถาน ต่อมากำนันขุนสถาน
ดำรงตำแหน่งกำนันในปี พ.ศ. 2464
จึงขอเปลี่ยนชื่อมาเป็นตำบลสถาน
ตำบลสถานเป็นตำบลเก่าแก่มาช้านาน
สมัยก่อนนี้มีพื้นที่กว้างขวางมากยากแก่การปกครอง มีจำนวนหมู่บ้านเดิม 22
หมู่บ้าน ปกครองโดยกำนันศรี ตั้งแต่ปี 2435 จนกระทั่งปี
2448 ได้รวมการปกครองกับตำบลปัว และแยกการปกครองเป็นตำบลสถาน
ตั้งแต่ปี 2504 และเมื่อปี 2522 แยกตำบลไชยวัฒนาออกจำนวน
8 หมู่บ้าน และในปี พ.ศ.2527 ได้แยกอีกตำบลหนึ่งคือ ตำบลสกาด ปัจจุบันมีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 13
หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลบ้านปรางค์ 1 หมู่บ้าน
และในเขต อบต. 12 หมู่บ้าน
4.3.2
สภาพภูมิศาสตร์
ลักษณะที่ตั้ง กศน.ตำบลสถาน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอปัว ระยะทางห่างจากอำเภอปัว 8 กิโลเมตร พื้นที่มีสภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่มและป่าไม้ มีลำน้ำปัว,และลำน้ำขว้างไหลผ่าน
เนื้อที่ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 141 ตารางกิโลเมตร
4.3.3 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ราบลุ่ม
ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน
มี 3
ฤดู
·
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม
·
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม
- เดือนพฤศจิกายน
·
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์
4.3.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
ในเขตพื้นที่ตำบลสถาน มีป่าไม้และแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ โดยมีลำน้ำปัว ลำน้ำขว้างไหลผ่าน
กศน.ตำบลสถาน
มีโบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม เช่น
พระธาตุจอมทอง ฝายลำน้ำปัว
ต้นยวงผึ้ง เหมาะแก่การส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
4.3.5 การคมนาคม
หมู่บ้านต่างๆ ภายในเขตตำบลสถานมีการคมนาคมสะดวกสบายเพราะถนนส่วนมากจะได้รับ
การเทคอนกรีต และลาดยาง
-
ทางหลวงแผ่นดินสาย น่าน – ทุ่งช้าง หมายเลข 1080
-
ทางหลวงชนบทสายบ้านส้าน – ดอนแก้ว (รพช.)
-
ทางหลวงชนบทสายบ้านนาฝาง – บ้านกอก เชียงกลาง (โยธา)
4.3.6 สภาพทางเศรษฐกิจ
การเกษตร อาชีพของประชากรในหมู่บ้านแทบทุกหลังคาเรือนประกอบอาชีพเกษตรกรรม
เป็นอาชีพหลัก
การปศุสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยง ประกอบด้วย
เป็ด ไก่ นกกระทา
วัว ควาย หมู
การประมง มีลำน้ำปัวไหลผ่านมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประชากรในตำบลบางส่วนจึงยึดอาชีพ
หาปลาเป็นอาชีพหลังฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต และตำบลสถานมีผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ที่น่าพอใจในบางส่วน ผลผลิตตกต่ำซึ่งเกิดจากภัยธรรมชาติ และบางส่วนได้ประสบปัญหาซึ่งเกิดจากพ่อค้าคนกลาง
4.3.7 ด้านเศรษฐกิจ
ด้านเศรษฐกิจและอาชีพ
ประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพ ได้แก่ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ
4.3.8 ด้านสถาบันทางการเงิน
-
4.3.9 ด้านสาธารณสุข
ตำบลสถานมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ตั้งอยู่ หมู่ 8 บ้านใหม่ชัยเจริญ ทำหน้าที่
ดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนในตำบล
4.3.10 สถานที่ท่องเที่ยว/สถานที่สำคัญ
· พระธาตุจอมทอง
ตั้งอยู่ที่บ้านดอนสถาน
1 หมู่ 12 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
· ฝายลำน้ำปัว ตั้งอยู่ที่บ้านนาฝาง หมู่ 6 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
· ต้นยวงผึ้ง ตั้งอยู่บ้านส้านเหล่า หมู่ 3 ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน
4.3.11 ด้านวัฒนธรรมและประเพณี
วัฒนธรรมและประเพณีของตำบลสถาน มีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบชาวไทยภาคเหนือชุมชนในพื้นราบพูดภาษาพื้นเมือง มีการแต่งกาย และการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายมีความเลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ การสืบชะตา
การสู่ขวัญ การเลี้ยงผี การลอยกระทง ตานก๋วยสลาก สงกรานต์ วันเข้าพรรษา
วันออกพรรษา การบวชลูกแก้ว (บรรพชา-อุปสมบท ) งานฉลองสมโภช อุโบสถ วิหาร
และงานกฐิน